การรักษานอนกรนด้วยเทคนิคใหม่ล่าสุด (Hybrid Modified CAPSO)
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการนอนกรน
ทำไมนอนกรน: การนอนกรน เกิดจากทางเดินหายใจส่วนบนตีบแคบขณะที่เรานอนหลับสนิท เนื่องจาก กล้ามเนื้อต่างๆในช่องปากจะผ่อนคลายและหย่อนลงมาปิดกั้นทางเดินหายใจและอาจมีการบวมของเนื้อเยื่อในช่องจมูกทำให้ลมหายใจไม่สามารถผ่านไปยังหลอดลมและปอดได้อย่างสะดวก เมื่อช่องลมถูกปิดกั้น ทางเดินหายใจส่วนบนตีบแคบลง ทำให้เกิดเสียงนอนกรนขึ้นจากการสั่นสะเทือนของเนื้อเยื่ออ่อนเช่นเพดานอ่อน ผนังช่องคอ และฝาปิดกล่องเสียง
ปัญหานอนกรนเสียงดัง: อาการนอนกรนเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยในคนทั่วไป ในรายที่มีเพียงอาการนอนกรน (ที่ไม่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย) จะก่อให้เกิดความรำคาญแก่คนใกล้ชิดและคนรอบข้าง อาจทำให้อับอายและถูกล้อเลียน
และหากอาการนอนกรนนั้นมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย นอกจากจะมีปัญหาที่กล่าวข้างต้นแล้ว ยังก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพร่างกายของผู้นั้นด้วย เพราะช่วงที่หยุดหายใจขณะหลับนั้น ออกซิเจนในเลือดจะต่ำลง ที่เรียกว่าภาวะ Hypoxia ทำให้เซลล์ทั่วร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เมื่อตื่นนอนจะรู้สึกนอนไม่พอทั้งที่นอนมามากแล้ว มีอาการหงุดหงิด สมาธิแย่ลง
ในช่วงที่ออกซิเจนในเลือดต่ำนั้นก่อให้เกิดปัญหากับร่างกายอย่างมาก เพราะก่อให้เกิดอนุมูลอิสระกับเซลล์ร่างกายมาก อนุมูลอิสระที่มากนี้ทำให้ร่างกายเกิดภาวะเครียดจากอนุมูลอิสระ (Oxidative stress) ภาวะ Oxidative stress นี้จะก่อให้เกิดการอักเสบของผนังเส้นเลือดเล็กๆทั่วร่างกาย ทำให้การไหลเวียนเลือดในอวัยวะต่างๆไม่ดีเกิดความเสื่อมและแก่ก่อนวัย (Premature ageing) และนานวันจะก่อให้เกิดโรคของความเสื่อมที่มาเร็วกว่าคนทั่วไป อาทิเช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ ข้อเสื่อม ต้อหิน ต้อกระจก ๚ล๚ ดังนั้น หากมีอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับควรรีบรักษาไม่ควรละเลยอีกต่อไป
การรักษาอาการนอนกรน
เนื่องจากเพดานอ่อนเป็นสาเหตุของการอุดกั้นของทางเดินหายใจมากกว่า 90 % ของผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) และความดังเสียงกรนกว่า 80℅ เกิดจากการสั่นสะเทือนของเพดานอ่อน ในการรักษาจึงมุ่งเน้นปรับแก้ไขสรีรวิทยาของเพดานอ่อนเป็นหลัก
เทคนิคเดิม: การนอนกรนมีสาเหตุจากการที่เพดานอ่อนหย่อนยานและลิ้นไก่ยาว วิธีแบบเดิมใช้มีดผ่าตัดและเย็บตกแต่งเพดานอ่อน ที่เรียกว่า (Uvulopalatopharyngoplasty/UPPP) มีข้อเสียคือ ใช้เวลาในการผ่าตัดนาน เสียเลือดในการผ่าตัดมาก 50-100 cc. ผู้ป่วยเจ็บแผลหลังการผ่าตัดมาก ต้องพักในโรงพยาบาล 2-3 คืน ใช้เวลาในการฟื้นตัวนาน และแผลในช่องคอหลังผ่าตัดไม่สวยงาม (ดังรูปที่ 1และ 2)
รูปที่ 1 รูปที่ 2
เทคนิคใหม่: ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคนิคใหม่ในการรักษานอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับที่ได้ผลดีมากและเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง เรียกว่า Modified CAPSO technique (Modified cautery-assisted palatal stiffening operation technique) ข้อดีในการใช้เทคนิคใหม่นี้คือ ใช้เวลาในการผ่าตัดน้อย เสียเลือดในการผ่าตัดน้อย ไม่เกิน 1-2cc. ผู้ป่วยเจ็บแผลหลังการผ่าตัดน้อย พักในโรงพยาบาลเพียง 1-2 คืน ใช้เวลาในการฟื้นตัวเร็ว และแผลในช่องคอหลังผ่าตัดสวยงาม (ดังรูปที่ 3)
รูปที่ 3
โดยการผ่าตัดนี้เหมาะสำหรับรักษาผู้มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่เป็นไม่รุนแรง (Mild and Moderate OSA) แต่หากนำมาใช้ร่วมกับการรักษาอื่น เช่น การใช้เลเซอร์ผ่าตัดสลายเนื้อเยื่อต่อมทอนซิลให้มีขนาดเล็กลงร่วมกับการเย็บซ่อมแซมต่อมทอนซิล (LASER tonsilloplasty) และใส่ spring pillar implant ซึ่งเป็นนวัตกรรมของทางคลินิกที่เรียกว่า Modified capso + spring pillar implant = Hybrid Modified CAPSO technique (ดังรูปที่ 4) ก็จะสามารถรักษาผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดปานกลางถึงรุนแรงได้ (Moderate to Severe OSA)
ผลลัพธ์
ตัวอย่าง ผู้ป่วยก่อนและหลังการรักษาด้วยการผ่าตัด Hybrid Modified CAPSO และวัดการกรนด้วย SnoreLab
พบว่า เมื่อรักษาด้วยการผ่าตัด Hybrid Modified CAPSO ผ่านไป 56 วัน (8 สัปดาห์) Score เสียงกรนลดลงจาก 119 เหลือ 8 นั่นคือเสียงกรนลดลงไปจากเดิม 93℅ จึงสามารถกล่าวได้ว่า เป็นการรักษานอนกรนที่ได้ผลและสามารถวัดผลได้ชัดเจน
Comments