นวัตกรรมการรักษาอาการนอนกรน และ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับด้วยเลเซอร์
LASER Anterior Palatoplasty
อาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เป็นความผิดปกติที่พบบ่อย ประมาณ 2-4% ของประชากรวัยผู้ใหญ่ สาเหตุมักเกิดจากการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน โดยเฉพาะบริเวณช่องลำคอ (Oropharynx) ตั้งแต่อดีต ได้มีเทคนิคการผ่าตัดหลายอย่างที่นำมาใช้ในการแก้ไขบริเวณช่องลำคอส่วนนี้ เช่น การผ่าตัด UPPP (Uvulopalatoplaryngoplasty) และ UPF (Uvulopalatal Flap) เป็นต้น
แต่การผ่าตัดดังกล่าวข้างต้น ยังมีข้อด้อยในเรื่องของขั้นตอนการผ่าตัดที่ยุ่งยากและใช้เวลานาน การบาดเจ็บของเนื้อเยื่อช่องลำคอและการสูญเสียเลือดขณะผ่าตัด ตลอดจน
ผู้ป่วยใช้เวลาฟื้นตัวนาน ในปัจจุบันตั้งแต่ปี 2009 -2014 คลินิกเลเซอร์ทอนซิลและนอนกรน โรงพยาบาลพญาไท 3 ได้มีการพัฒนาเทคนิคการผ่าตัดแบบใหม่ โดยใช้ CO2 LASER ช่วยในการผ่าตัด ที่เรียกว่า LASER Anterior Palatoplasty มาใช้ในการรักษาอาการนอนกรน และ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ระดับอ่อนถึงปานกลาง หลักการคือ เป็นการผ่าตัดตกแต่งเพดานอ่อนและลิ้นไก่ ทำให้เพดานอ่อนและลิ้นไก่ตึงตัวและกระชับขึ้น จากพังผืดของแผลเป็นที่เพดานอ่อน (Palatal fibrotic scar)
จากการศึกษาวิจัยพบว่า การผ่าตัดวิธีนี้จะช่วยลดอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้เป็นอย่างดี การผ่าตัดไม่ยุ่งยาก ใช้เวลาไม่นาน การบาดเจ็บของเนื้อเยื่อน้อย เสียเลือดระหว่างผ่าตัดน้อย (ประมาณ 2-5 cc) ผู้ป่วยใช้เวลาฟื้นตัวเร็ว และการรักษาได้ผลเหนือกว่าการผ่าตัดแก้ไขอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับด้วยวิธีอื่นๆ เช่น UPF (Uvulopalatal Flap) เป็นต้น
ยิ่งไปกว่านั้น เทคนิคการผ่าตัดแบบใหม่ ที่เรียกว่า LASER Anterior Palatoplasty นี้ เมื่อใช้ร่วมกับการผ่าตัดลดขนาดต่อมทอนซิลด้วยเลเซอร์ (LASER Tonsilloplasty) แล้ว ยังสามารถใช้รักษาอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดที่เป็นปานกลางถึงรุนแรงได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
References
1: Anterior palatoplasty for the treatment of OSA : three-year results. : Otolaryngol Head Neck Surg 2009 Aug ; 141(2) ; 253-6 / Pang KP , Tan R , Puraviappan P , Terris DJ.
2: Preliminary Findings from Our Experience in Anterior Palatoplasty for the treatment of Obstructive Sleep Apnea : Clin Exp Otolaryngol . Mar 8,2013 doc / Andrea M , 1 Massimiliano T, 2 and Francesco Maria P 3