การผ่าตัดรักษาอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
อาการนอนกรนเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยในคนทั่วไป ในรายที่มีเพียงอาการนอนกรน(ที่ไม่มีภาวะหยุด หายใจขณะหลับร่วมด้วย) จะก่อให้เกิดความรำคาญแก่คนใกล้ชิดและคนรอบข้าง ทำให้อับอายและถูกล้อเลียน แต่หากอาการนอนกรนนั้นมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย นอกจากจะมีปัญหาที่ กล่าวข้างต้น แล้วยังก่อผลเสียต่อสุขภาพร่างกายของผู้นั้นด้วย เพราะช่วงที่หยุดหายใจขณะหลับนั้น ออกซิเจนในเลือดจะต่ำลงที่เรียกว่า ภาวะ Hypoxia ทำให้เซลล์ทั่วร่างกายได้รับออกซิเจนไม่พอ เมื่อตื่นนอนจะรู้สึกนอนไม่พอทั้งที่นอนมามาก แล้วมีอาการหงุดหงิดสมาธิแย่ลง
ในช่วงที่ออกซิเจนในเลือดต่ำนั้นก่อให้เกิด ปัญหากับร่างกายอย่างมาก เพราะก่อให้เกิดอนุมูล อิสระกับเซลล์ร่างกายมาก อนุมูลอิสระที่มากนี้ทำให้ร่างกายเกิดภาวะ Oxidative stress ภาวะ Oxidative stress นี้จะก่อให้เกิดการอักเสบของผนังเส้นเลือดเล็กๆทั่วร่างกาย ทำให้การไหลเวียน เลือดในอวัยวะต่างๆไม่ดีก่อให้เกิด ความเสื่อม แก่ก่อนวัย (Ageing) และนานวันจะก่อเกิดโรคของ ความเสื่อมที่มาเร็วกว่าคนทั่วไป อาทิเช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอด เลือดโรคความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ข้อเสื่อม ต้อหิน ต้อกระจก ฯลฯ ดังนั้นถ้ามีอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับควรรีบรักษาไม่ควรละเลยอีกต่อไป
การรักษาอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับมี2 วิธีใหญ่ๆ ดังนี้
1. โดยวิธีการไม่ผ่าตัด ได้แก่ การลดน้ำหนัก และการออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงยา หรือเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์กด ประสาทส่วนกลาง การปรับเปลี่ยนท่าทางในนอน หรือ ท้ายสุดด้วยการใช้เครื่องช่วยหายใจ อัดอากาศผ่านช่องคอที่แคบทำให้อากาศผ่านทางเดินหายใจที่แคบได้มากขึ้น ขณะนอนหลับ (Continuous Positive Airway Pressure: CPAP) ซึ่ง ในบางรายใช้ได้แต่ในบางรายก่อให้เกิด ความรำคาญและปฎิเสธการใช้ไป
2. โดยวิธีการผ่าตัดมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับการตรวจพบสาเหตุของปัญหานั้นว่า เป็นที่ตำแหน่งใดเช่น
o ถ้าเกิดจากเยื่อบุจมูกบวม ก็สามารถรักษาโดยการจี้เยื่อบุจมูกด้วยคลื่นวิทยุ (RFVTR) เพื่อลดขนาดลง
o ถ้าผนังกั้นช่องจมูกคดก็ผ่าตัดแก้ไขผนังกั้นช่องจมูกทเี่รียกว่า Septoplasty
o ถ้ามีการอุดกั้นทางเดินหายใจในช่องคอ เช่น ทอนซิลโตมาก ก็อาจจะตัด ทอนซิลทิ้งที่เรียกว่า Tonsillectomy ซึ่ง เป็นวิธีแบบดั้งเดิม ปัจจุบัน เราใช้วิธีที่ดีและทันสมัยกว่าคือการผ่าตัดด้วยเลเซอร์เพื่อสลายเนื้อเยื่อต่อม ทอนซิล ให้มีขนาดเล็กลง ร่วมกับการเย็บซ่อมแซมต่อมทอนซิล ให้มีรูปร่างและทำหน้าที่อย่างทอนซิล ปกติวิธี นี้รวมเรียกว่า LASER Tonsilloplasty
o แต่หากสาเหตุเกิดจากการที่เพดานอ่อนหย่อนยาน และลิ้นไก่ยาว วิธีแบบเดิมเราใช้มีดผ่าตัด และเย็บตกแต่ง เพดานอ่อน ที่เรียกว่า UPPP (Uvulopalatopharyngoplasty) ซึ่งมีข้อเสียคือใช้เวลาในการผ่าตัดนานเสียเลือดในการผ่าตัดมาก 50-100 cc. ผู้ป่วยเจ็บแผลหลังการผ่าตัดมาก ต้องพักในโรงพยาบาล 2-3 คืน ใช้เวลา ในการฟื้นตัวนาน และแผลในช่องคอหลังผ่าตัดไม่สวยงาม (ดังรูปที่ 1)
รูปที่ 1
ต่อมาการผ่าตัดได้พัฒนาโดยการใช้เลเซอร์ร่วมในการผ่าตัด (LASER-assisted Uvulopalatoplasty: LAUP) แต่ผลผ่าตัดยังไม่ดีเท่าที่ควร ปัจจุบันได ้มีการพัฒนาเทคนิคใหม่ที่ดี มากและเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกที่เรียกว่า Modified CAPSO technique (Modified cautery assisted palatal stiffening operation technique) ร่วมกับการเย็บตกแต่งเพดานอ่อนและลิ้นไก่ ที่เรียกว่า Modified CAPSO and Uvulopalatoplasty ข้อดีในการใช้เทคนิค ใหม่นี้คือ ใช้เวลาในการผ่าตัดน้อยเสียเลือดในการผ่าตัดน้อย ไม่เกิน 10 cc. ผู้ป่วยเจ็บแผลหลังการผ่าตัดน้อย พักในโรงพยาบาลเพียง 1 คืน ใช้เวลาในการฟื้นตัวเร็ว และแผลในช่องคอหลังผ่าตัดสวยงาม (ดัง รูปที่ 2)
รูปที่2 ภาพก่อนการผ่าตัด
รูปที่ 2 ภาพหลังผ่าตัด
โดยการผ่าตัดนี้เหมาะสำหรับรักษาผู้มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่เป็นไม่รุนแรง (Mild OSA) แต่หากนำมาใช้ร่วมกับการรักษาอื่น เช่น จี้เยื่อบุจมูกด้วยคลื่นวิทยุ(RFVTR) และ การใช้เลเซอร์ผ่าตัด สลายเนี้อเยื่อต่อมทอนซิลให้มีขนาดเล็กลงร่วมกับการเย็บซ่อมแซมต่อมทอนซิล (LASER Tonsilloplasty) ก็จะสามารถรักษาผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดปานกลางถึงรุนแรงได ้